พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

17/01/60

ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการอบรมเลี้ยงดูควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญ เพราะเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญที่สุด ต่อการวางรากฐานของชีวิตมนุษย์ เป็นวัยแห่งการก่อเกิดพื้นฐานด้านบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย ความสามารถทางสติปัญญา และความสามารถด้านต่าง ๆ การเข้าใจธรรมชาติและการเรียนรู้
1. ลักษณะของการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
2. มีความสามารถในขอบเขตจำกัดและแตกต่างกัน
3. ต้องการการเอาใจใส่ดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
4. เป็นวัยที่ชอบอิสระ
5. ชอบแสดงออกและต้องการการยอมรับ
6. ชอบเล่น
7. มีช่วงความสนใจสั้น
เด็ก ๆ มีธรรมชาติต่างกัน
- บางคนเหมือน รถเข็น จำต้องมีคนคอยเข็ญจึงจะเคลื่อน
- บางคนเหมือน เรือแคนู จำต้องมีคนพาย
- บางคนเหมือน ว่าว ถ้าไม่มีคนถือสายป่าย ก็จะลอยจากไป
- บางคนเหมือน ลูกแมว จะพอใจยิ่งขึ้นถ้าได้รับการลูบไล้
- บางคนเหมือน รถลาก จะใช้ประโยชน์ไม่ได้นอกเสียจากจะมีการลาก
- บางคนเหมือน ลูกบอลลูน อัดแน่นด้วยลม และคอยแต่จะลอยขึ้น
 *** นอกจากว่าจะมีผู้คอยจัดการอย่างระมัดระวังบ้างก็คอยแต่จะพึ่งพาผู้อื่น และร่วมมือไปหมดทุกอย่าง***
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
เป็นการเรียนรู้ที่เด็กได้พบหรือสัมผัสกับประสบการณ์ จากสภาพแวดล้อมโดยการกระทำ การรับรู้ การพบเห็นด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม การเรียนรู้จากประสบการณ์
ทางอ้อม เป็นการเรียนรู้จากการบอกเล่าของบุคคลต่าง ๆ คนใกล้ชิด
ญาติผู้ใหญ่ หรือจากหนังสือ การสังเกตจากตัวแบบ การเลียนแบบ
การบอกเล่าให้ฟังจะทำให้เด็กสร้างภาพขึ้นในสมองของตนแทนการเห็นของจริง
ธรรมชาติของการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการซึ่งมีขึ้นตอน ดังนี้
1. มีสิ่งเร้ามาเร้าผู้เรียน
2. ผู้เรียนรับรู้สิ่งเร้า
3. ผู้เรียนแปลความหมายของสิ่งเร้าที่รับรู้
4. ผู้เรียนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้และแปลความหมาย

5. ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น
การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก
ลักษณะที่ 1 การเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ
ลักษณะที่ 2 เป็นการเรียนรู้จากการช่วยเหลือจากพ่อแม่
ลักษณะที่ 3 การเรียนรู้จากโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมอย่างมีระบบ
รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา เป็นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเปรียบเทียบด้วยสายตา ด้วยการมองเห็นความต่างความเหมือน สี ขนาด รูปร่าง และเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานประสานสัมพันธ์ของสายตาและกล้ามเนื้อมือ
2. การเรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง จากการได้ยินได้ฟังเสียงจากที่ต่างๆ หรือจากบุคคล เด็กจะสามารถรู้ที่มาของเสียง สามารถแยกความเหมือนความต่างของเสียงได้
3. การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของกล้ามเนื้อ
กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในช่วงชีวิตของแต่ละคนและช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดีพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กสามารถพัฒนาได้สูงสุด เป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ของมนุษย์ และเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังไวต่อสิ่งกระตุ้น (Sensitive)เมื่อเด็กอายุมากขึ้นเด็กจะมีพัฒนาการในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วยโดยเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 - 6 ปีจะมีวิธีเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่ากลุ่มอายุ   2 - 3 ปี สังเกตได้จากการสัมผัสสิ่งต่างๆแล้ว เด็กใช้การคิด การจินตนาการ การค้นคว้าและลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาสิ่งที่ตนอยากเห็นอยากรู้
ทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 2-3 ปี
•มีปฏิกิริยาโต้ตอบง่าย ๆ ได้
•ดูหนังสือภาพแล้วเรียกชื่อสิ่งที่ดูหรือเห็นจากภาพได้
•จับคู่สิ่งของได้ โดยรู้ความสัมพันธ์กัน
•เริ่มเรียนรู้ขนาดใหญ่-เล็ก
•จับภาพหน้าตาส่วนต่าง ๆ ของตนได้ (ภาพหรือส่องกระจก)
•บอกได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่
2. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 3-4 ปี
สามารถจำสี จับคู่สีเหมือนกันได้มากกว่า 3 สี
สามารถเข้าใจเปรียบเทียบขนาด ใหญ่ กลาง เล็กได้
วาดภาพอย่างมีความหมาย และบอกชื่อภาพได้
ชอบซักถามว่า ทำไม . . . .
บอกชื่อ-นามสกุลได้ เมื่อได้รับการสอนให้จำ
มีความสนใจช่วงระยะสั้น ๆ พยายามเรียนรู้และเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่บอก/สอน และอาจหยุดความสนใจได้ง่าย ๆ
3.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 4-5 ปี
สามารถพูดตามเป็นคำสัมผัส ท่องคำสัมผัส และสนุกกับคำที่ออกเสียงซ้ำๆ สัมผัสเสียงและจังหวะ
ชี้บอกชื่อสีได้ตั้งแต่ 4-6 สี
• จับคู่สิ่งของที่ใช้ด้วยกัน หรือสิ่งของประเภทเดียวกันได้
•วาดภาพคนโดยมีส่วนต่าง ๆ ของคน ตั้งแต่ 2-6 ส่วน
•และเปรียบเทียบส่วนต่าง ๆของร่างกายได้
•วาดภาพและบอกชื่อภาพที่วาดได้
• บอกชื่อสถานที่ที่บ้านตนตั้งอยู่ได้
4.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 5-6 ปี
สามารถเล่าทวนเรื่องที่ได้ยินให้ฟังได้
ออกชื่อตัวพยัญชนะ ตัวเลขที่ตนจำได้ อ่านได้
นับเลข เข้าใจความหมาย สัญลักษณ์ตัวเลขถึง 10
จัดประเภท แยกสิ่งของที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันได้
รู้จักความหมายของการบอกเวลาได้ชัดเจนถูกต้อง เช่น เมื่อวานนี้
วันนี้ พรุ่งนี้
จับอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือได้ถนัด
มีความสนใจมากขึ้น อดทนเพราะอยากรู้จริง
มีความเข้าใจในความคิดรวบยอดดี เข้าใจเหตุการณ์ เหตุ และผล
ของสิ่งที่เกิดขึ้นได้
แนวคิดของการเรียนรู้
การเรียนรู้
  กระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่
1.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ

BLOOM (BLOOM'S TAXONOMY)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ ประกอบด้วย
1.ความจำ (knowledge)
2.การประยุกต์ (Application)
3.ความเข้าใจ (Comprehend) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
4.การสังเคราะห์ (Synthesis)
5.การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ สามารถนำส่วนต่าง ๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ ให้แตกต่างจากรูปเดิม
6.การประเมินค่า (Evaluation) สามารถวัดได้ เน้นโครงสร้างใหม่ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด
2.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (MAYOR)
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์มีความจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็น
3 ส่วนย่อย ๆ ด้วยกัน ประกอบด้วย
1. พฤติกรรมควรชี้ชัดและสังเกตได้
2. เงื่อนไขพฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
3. มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
3.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์

(BRUNER)
1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง ๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง ซึ่งเนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
4.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์

(TYLOR)
1. ความต่อเนื่อง (continuity)
2. การจัดช่วงลำดับ (sequence)
3. บูรณาการ (integration)
5. ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (GAGNE)
1. การจูงใจ (Motivation Phase)
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase)
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase)
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase)
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย เป็นวัยพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การพัฒนาของชีวิต เด็กจะเริ่มพัฒนาลักษณะความเป็นตัวของตัวเอง ให้ความสนใจในสิ่งรอบตัว และชอบตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆ เด็กจะพยายามและต้องการช่วยเหลือตนเอง
ลักษณะของพัฒนาการ
• การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
•พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (Cephalo - caudal direction)
•พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกล
ออกไป(Proximo distal direction)
•พัฒนาการจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มี
การข้ามขั้น
•อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน
•ความก้าวหน้าของพัฒนาการ
•พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กัน
•พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่
เท่ากัน
•พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
•พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
บุคคลภายในครอบครัว บุคคลภายในครอบครัว ประกอบด้วยพ่อ 
แม่พี่น้อง หรือญาติใกล้ชิดที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
บุคคลภายนอกครอบครัว บุคคลภายนอกครอบครัว ประกอบด้วยผู้ดูแลเด็ก ครู เพื่อน ๆ ตลอดจนอิทธิพลของสังคมโดยผ่านสื่อต่างๆ
 อาหาร
• อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด
• เชื้อชาติ
• เพศ
• ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย
• สติปัญญา
•การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ
•ตำแหน่งในครอบครัว
การจัดกิจกรรมการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย
ลักษณะพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย
พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 0 – 1 ปี เด็กวัยนี้ในช่วงแรเกิด-3เดือน
จะยังไม่สนใจกับการเล่นมากนัก แต่เด็กจะเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัส
การมองเห็นและได้ยิน การแขวนของเล่นที่สดใสที่แกว่งไกวแล้วมี
เสียงกรุ๋งกริ๋งช่วยให้เด็กกรอกสายตา ฝึกการมองเห็นและการฟังได้
สังเกตความเคลื่อนไหว
พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 1 - 2 ปี ปีเด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองบ้าง
แม้จะไม่มั่นคงนัก แต่ก็ชอบเกาะเครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปยังอีกที
หนึ่งทำให้ได้เรียนรู้ถึงระยะทาง และฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ
ต่างๆ
พฤติกรรการเล่นของเด็กวัย 2 - 4 ปี เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่ง
ทุกอย่าง เด็กเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และทรงตัวได้ดี เพราะกล้าม
เนื้อแขนขาแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ชอบเล่นที่ออกแรงมากๆ
พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 4-6 ปี เด็กวัยนี้มีความพร้อมในด้าน
ต่างๆ มากขึ้น มีการเคลื่อนไหวของร่างกายคล่องแคล่วขึ้นชอบเล่น
กลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนาม
การจัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเล่นของเล่นสำหรับเด็กวัย 0 - 1 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้
จากการกระตุ้นประสาทสัมผัสให้เกิดการรับรู้และตอบสนองสิ่งเร้ารอบ
ตัวจากผู้อยู่ใกล้ชิด
กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็ก 1 - 2 ปี เด็กวัยนี้จะเรียรู้
จากการใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ และมีการกระทำซ้ำ ๆ แบบลอง
ผิดลองถูกกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย กิจกรรมการเล่นที่ควรจัดให้
การเล่นสำรวจที่ใช้ประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ
กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กวัย 2 - 4 ปี เด็กวัยนี้จะ
เรียนรู้จากการสังเกต เลียนแบบและซักถามทำความรู้จักกับสิ่งต่างๆ
รอบตัวจากผู้ใหญ่
กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กวัย 4 - 6 ปี เด็กวัยนี้จะ
เรียนรู้จากการใช้ภาษาสื่อความหมายความเข้าใจกับผู้อื่น และการใช้
เหตุผลในการทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ
ประโยชน์ของการจัดกิจกรรม
เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่ต้องการออกมาสัมผัสกับโลกภายนอกมากขึ้น
เริ่มมีสังคมนอกบ้าน เด็กจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วย
ความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น และมักมีจินตนาการ ของตนเอง
เด็กจะเรียนรู้ภาษาและคำพูดได้เร็ว ชอบเลียนแบบในขณะเดียวกันก็
ต้องการอิสระ อยากพึ่งตนเอง และต้องการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย
ตนเอง กิจกรรมของเด็กปฐมวัยจึง มีความสำคัญมาก
สรุป
•การเลือกสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยควรเน้นพัฒนาการทั้ง 4

•ส่วนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรปล่อยให้เด็กเป็นตัวของตัวเองและ
กระตุ้นให้เด็กได้ ใช้ความสามารถแสดงออกให้มากที่สุดเท่าที่เขา
ปรารถนาควรให้ความสนใจในกิจกรรมของเขา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น